วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผม-ตึกร้าง-จินตนาการ-และงานศิลปะของผม

เรื่อง จักรกริช ฉิมนอก ภาพ กิตตินันท์ ตั้งธรรม




หลายสิ่งหลายอย่าง เกิดขึ้นรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงจากความคุ้นเคย กลายเป็นอื่น “ เมืองโตขึ้น ” พร้อมกับคนแก่ชราขึ้น ความสะดวกรวดเร็วทำให้คนมี เวลามากขึ้นมั้ย !! และเราจะทำสิ่งใดเร้า !! พาชีวิตไปอีกฟากฝันของตัวเราเองและสิ่งใดที่นำพกพา ติดตัวไปได้บ้าง..ฝั่งฟากที่เห็นอยู่ไกลหริบหรี่หรือแค่เอื้อม นั้นปูด้วยพรมแดงหรือกลีบกุหลาบสีสดใสสำหรับคนจำนวนไม่มากนัก และคนจำนวนไม่น้อยต้องดิ้นรน เพื่อจะให้มีที่อยู่อาศัยในสังคมโดยไม่ถูกกลั่นแกล้ง กีดกัน มีชีวิตที่ได้รับโอกาส เห็นอกเห็นใจพอประคับประคองไปให้ถึงวันพรุ่งนี้

พื้นที่ เป็นตัวบ่งบอกสภาพแวดล้อม การดำเนินชีวิตของคนแต่ละแห่งหน มีเรื่องราวและเรื่องเล่าแตกต่างกันไปตามยุค ตามสมัย ตามวัย ตามกาล สิ่งรอบๆตัวต่างปรับเปลี่ยนสอดร้อย เกี่ยวพัน โยงใยเป็นห่วงโซ่วิถีชีวิต ขับเคลื่อนสังคมไปในทิศทางต่างๆนาๆ ของการเมืองเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา และปัจจัยอื่นๆ

สังคมปัจจุบันได้เดินไปในทิศทางที่ทำให้มนุษย์โดดเดี่ยว และขาดสัมพันธภาพและความเป็นมิตรกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง เราจะเห็นความเป็นอื่นมากขึ้นในวิถีชีวิตปัจจุบัน ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ของสถานที่ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นความทรงจำที่จะกระตุ้น ให้เกิดปรากฏการณ์ที่แตกต่างออกไปจากวิถีชีวิตที่เคยผ่านมา

กิตตินันท์ ตั้งธรรม ( Kittinun Tungtam ) นำเสนอและสร้างผลงานศิลปะ “ ผม-ตึกร้าง จินตนาการ- และงานศิลปะของผม ” ( Me-Abandoned Building-Imagination and My Artwork.) ในรูปแบบการใช้พื้นที่ ( ตึกร้าง ) เข้ามามีส่วนร่วมให้เป็นส่วนหนึ่งกับผลงานที่สร้างสรรค์ ในบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และงานประติมากรรมที่ศิลปิน ใช้ตัวเองเป็นต้นแบบในการถอดหล่อปูนปลาสเตอร์ งานแกะไม้เป็นร่างกายและส่วนต่าง ๆเช่น มือ แขน ขา เท้า ฯลฯ โดยประติมากรรม แต่ละชุดจะถูกนำไปติดตั้งในพื้นที่ต่างๆของตึกร้าง เช่น บันใด ทางเดิน และ ชั้นดาดฟ้า ผลงานได้สร้างความสัมพันธ์กับมิติของเวลาและสถานที่ แสงจากด้านนอกของตึกส่องกระทบผลงาน ทำาให้เกิดแสงเงา ดูมีชีวิต ประติมากรรมไม้แกะเป็นคนครึ่งท่อนติดตั้งบนรถเข็น ของโรงพยาบาล มีผ้าสีขาวคลุมที่หน้าตัก ดวงตาเหม่อลอยมองทอดออกไปทางทิวทัศที่เป็นภูเขา ให้ความรู้สึกถึงความโดดเดี่ยว อ้างว้าง วิตกกังวล รอความหวัง ศิลปินจัดวางให้ผลงานชุดนี้อยู่เกือบชิดขอบนอกชั้นดาดฟ้า ที่เปิดโล่งไม่มีอะไรกั้นกันตกและหมิ่นเหม่ ซึ่งทำให้เกิดความรุ้สึกไม่ปลอดภัย เสี่ยงและความไม่มั่นคง ศิลปินหวังใจจะให้ขั้นตอนต่างๆ ในการทำงานศิลปะของเขาเหล่านี้นำมา ซึ่งทำความเข้าใจในรายละเอียดบางแง่มุมของชีวิต การอดทน การรอค่อย และทบทวนประสบการณ์ในชีวิตของตัวเองในอดีตที่ผ่านไป ที่ไม่อาจสามารถกลับไปแก้ไขได้

สายล่อฟ้า ( lightning Conductor)

เรื่อง และ

ภาพ จักรกริช ฉิมนอก

สายล่อฟ้า ( lightning Conductor)

บรรยากาศตอนเช้าของชียงใหม่ในยามหน้าฝนเค่อนข้างจะสดชื่น (ขณะเขียนอาศัยนอนที่บ้านเพื่อนนอกเมือง) เสียงนกร้องขับกล่อมแทรกมาเป็นระยะ ๆ สลับกับเสียงไก่ขัน ผืนสีเขียวของแนวใบและยอดไม้ สดใส่หลังถูกชะล้างด้วยฝนของเมื่อคืน แสงค่อยๆแยงแทรกตัวออกมาจากกลีบเมฆที่บดบังบดบังดวงอาทิตย์ ดูราวกับว่าเวลาตอนนี้เคลื่อนตัวเนิบๆช้าๆ ก่อนจะเร่งรีบในตอนสายของวัน เวลาทิ้งช่วงให้ได้นั่งคิดทบทวนอะไรบางอย่าง ก่อนจะถูกโหมกระหนำด้วยข่าวสาร และการเคลื่อนไหวต่างๆในเมือง ก่อนจะเจอรถยนต์ที่เริ่มติดเป็นทิวแถวตามสีแยก สามแยกของถนน เสียงการหายใจของเมืองที่ประกอบด้วยการก่อสร้างตึกคอนกรีตสูง และเด็กร้องขายพวงมาลัยพร้อมสีหน้าที่เศร้าสร้อย เสียงจอแจในตลาด หรือ อาจจะเสียงปืน และระเบิด ในที่ ต่างๆ ตามมุมโลก และเส้นแบ่งขอบแนวพื้นที่ของประเทศหลายๆ ประเทศ

สิ่ง ต่างที่กำลังเกิดขึ้นและดำเนินไปบนโลกใบนี้ ต่างสอดคล้อง ร้อยรับกันประหนึ่งใยแมงมุมที่ห่อหุ้มก้อนหิน ผลกระทบจากสิ่งต่างๆ ล้วนส่งผลถึงกันอย่างเช่น สภาวะการณ์ถดถอยของเศรษฐกิจ ในตอนนี้ ตามข่าวสารที่ได้รับและได้ฟัง การแผร่ระบาดของใข้หวัดสายพันธ์ใหม่ทีคุกครามชีวิตมนุษย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี่แสดงออกมาเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มบางอย่างที่ กำลังเคลื่อนตัวอยู่ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์

“ สายล่อฟ้า ” ( lightning Conductor) เป็นชื่อนิทรรศการเดี่ยวโดย ศุภชัย ศาสตร์สาระ( Supachai Satsara) ผู้ซึ่งเป็นทั้งอาจารย์ในคณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่สอนศิลปะ และนักเคลื่อนไหวทางสังคมโดยใช้สื่อศิลปะในการสื่อสารกับคนในสังคม ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสะท้อนเนื้อหาเรื่องราวของมนุษย์ในสังคมชักชวนให้เกิดความคิด และการตั้งคำถาม
ศุภชัย มักมีความเชื่อมโยงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เหตุการณ์และภัยปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นนะขณะนั้นๆ สะท้อนถึงปัญหา เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทางความคิดในประเด็นต่างๆ ซึ่งศิลปินมักใช้ร่างกายของตัวเองทรอดแทรก ประกอบเข้าเป็นเนื้องานและการแสดงออก เพื่อสื่อสาร ส่งความไปถึงคนดู วัสดุที่ศิลปินเลือก ใช้ส่วนมากมักจะเป็นของที่เห็นได้จากสภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น เสาไฟฟ้า ลำโพง เครื่องขยายเสียง ไฟนีออน งานจิตรกรรม และ งานประติมากรรมรูปเหมือน ศิลปิน แม้งานชุดนี้จะมีงานจิตรกรรม ที่ศิลปินคัดลอกมา ไม่ได้แสดงออกด้วยเทคนิคที่เคร่งคัดเหมือนงานต้นแบบ ศิลปิน เน้นเรื่องราวเป็นสำคัญมากกว่าสนใจเรื่องความงดงามทางศิลปะ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ประกอบกับตัวหนังสือที่เป็นไฟนีออน ที่ดัดเป็นตัวอักษรบนผนังว่า lightning Conductor ศิลปินใช้งานประติมากรรม(ไม้แกะ)รูปตัวเองลักษณะกางแขนและแบมือรองรับแท่งเสาไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีสายไฟฟ้าแรงสูงระโยงระยาง เหมือนเน้นให้เห็นถึงสภาพของเมืองอีกครั้ง ที่ไม่อาจปฏิเสธความเปลี่ยนแปลง และความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่ในสภาพปัจจุปัน เสียงจากลำโพงเหมือนกำลังประกาศก้อง ถึงอะไรบางอย่างที่แอบซ้อนและอัดอั้นอยู่ภายในของเมือง งานอีกชิ้นเป็นประติมากรรมเล็กๆรูปเหมือนของศิลปิน ที่ยืนนิ่งแช่แข็งอยู่บนปลายยอดอีกด้านของลำโพงที่คว่ำลง( อาจจะดูเป็นยอดเขาหรือที่สูงสักแห่งหนึ่งที่ขึ้นไปยืนได้ครั้งละคน นั้นอาจหมายถึงสภาวะแห่งการแข่งขันและเป็นเลิศ ) ซึ่งให้ความรู้สึกโดเดี่ยว และอ้างว้างแม้จะอยู่ในจุดที่ประสบความสำเร็จ และได้ชัยชนะของการแข่งขันกันของคนในสังคม

คนหรือมนุษย์เป็นอะไรที่ยากจะเข้าใจ + ศิลปะ

เรื่อง และภาพ : จักรกริช ฉิมนอก



ทำไม..นักวิชาการต่างๆ(แทบทุกคน)ถึงชอบอ้างอิง ทฤษฎี แนวคิด จากบุคคลต่างๆทั้งๆที่ไม่เคยได้รู้จักและสัมผัส หรือมีความเกี่ยวข้องใดๆซึ่งกันและกัน อะไรคือความเข้าใจในสิ่งที่ผู้เสนอ(เจ้าลัทธิหรือเจ้าความคิด)เข้าใจจริงๆ และอะไรคือความเข้าใจของผู้นำไปปฏิบัติหรือบอกต่อ แม้ศาสตร์ต่างๆจะมี การพัฒนา (development )และหาเหตุผลมารองรับ ยืนยัน สนับสนุนและบริบทต่างๆก็ปรับเปลียนตาม คน สังคม ภูมิภาค วัฒนธรรมประเพณีและ อื่นๆ อีกมากมายไปเรื่อยๆ แต่เกือบทุกครั้งที่ผู้เขียนมองเข้าไปในตัวเองก็มักจะเห็นแต่คนอื่นๆที่กรอปเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเสมอ เหมือนจุดต่ดจุดกลายเป็นเส้น
ผมกำลังจมดิ้งลงไปกับความคิดต่างๆนา ในการ ตีความ และขยายความจากสิ่งที่มองเห็นด้วยตาปล่าๆกับแว่นมัวๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสารที่จะรับ จากสื่อที่ศิลปินแสดงออกมาด้วยรูปแบบของทัศนศิลป์ เหล่านี้อย่างไรดี โดยจะไม่ใยดีต่อความคิดของศิลปิน หากผู้เขียนเชื่อว่าศิลปะบริสุทธิ์ มันค่อนข้างที่จะหนักอึ้งในการประมวลความรู้ของผู้เขียนแม้ตอนนี้ก็อายุก้าวเลยเข้าปี่ที่ 31 “ยังไม่ประสีประสา” ประกอบกับเห็ตการณ์ต่างๆก็เกิดขึ้นรอบๆตัวอย่างรวดเร็วและหลากหลาย หลายครั้งที่ผู้เขียนเคยมีคำถามกับตัวเองเสมอว่าเรา(มนุษย์)เกิดมากันทำมั้ย..!!
ไม่ว่าศิลปะจะถูกนำออกมาเสริฟในรูปแบบใดก็ตาม แต่สิ่งที่ห้อยแขวนตามมาก็คือการอ้างเอ่ย สื่อสาร ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นสิ่งที่ธรรมดาสามาน หรือเป็นเรื่องลี้ลับเข้าใจยาก โดยรูปแบบนั้นอาจจะพิศดาร ไปจนถึงยิบจับสิ่งของที่เห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน มาโชว์แสดงบนเวทีความเป็นอื่นๆที่แตกต่างออกไป ศิลปินบางคน(หลายคน)ใช้ศิลปะนั้นนำความสุข ความเข้าใจชีวิตมาสู่ผู้ปฏิบัติ และสามารถเผื่อแผ่มาถึงคนดู ประหนึ่งเป็นการเป็นการบำบัด เยียวยา ชีนำ ชักนำ หรือกระทั้งชักจูง ให้คนอื่นๆ เห็นคล้อยและเข้าใจในการสื่อสารของศิลปิน หรือแม้แต่ความเห็นที่ขัดแย้งก็นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไปได้หากทั้งผู้รับ และผู้ส่งสารจะมีใจกว้างยอมรับซึ่งกันและกันและไร้ซึ้งอคติ
“ภาพสะท้อนจากภายใน” ( Inner Reflection)โดย เริงฤทธิ์ ตรียานุรักษ์ (Ruengrit Treyanurak) เป็นผลงานศิลปะจัดวาง (Installation) ประกอบด้วยงานจิตรกรรม และสื่อประสม โดยใช้เส้นขอบนอกของภาพใบหน้าคนเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนความเป็นคนหรือมนุษย์ เพื่อให้คนดูพิจารณาความเป็นตนเองจากการมองเห็นในสิ่งที่ปรากฏ คือรูปร่างเส้นขอบนอกของภาพใบหน้าคนในงานจิตรกรรมและภาพสะท้อนของคนดูจากกระจกในผลงานประติมากรรม ผลงานชุดนี้เกิดขึ้นจากศิลปินเกิดความสงสัยในคน ตระหนักถึงคุณค่าความเป็นคนหรือมนุษย์มุ้งเน้นให้คนได้มุ้งค้นหาตัวเอง ลดละจากอคติที่มีต่อคนอื่น และลดละความเป็น “ตัวกู—ของกู”(Egoism)
“เพราะคนหรือมนุษย์มักจะมองเห็นแต่ข้อด้อยและ ข้อเสียของคนอื่น ไม่ค่อยอยากที่จะมองเห็นข้อเสียของตนเอง อาจจะมองเห็นแต่แกล้งที่จะมองไม่เห็น ชอบดู ขี้สงสัยแต่เรื่องของคนอื่น เวลาคนอื่นสงสัยเรื่องของตัวเองบ้างก็มักจะไม่พอใจ คนหรือมนุษย์จึงเป็นอะไรที่อยากจะเข้าใจ” เอกสารประกอบนิทรรศการ “ภาพสะท้อนจากภายใน” ( Inner Reflection)โดย เริงฤทธิ์ ตรียานุรักษ์ (Ruengrit Treyanurak)

ระหว่างตัวตนและธรรมชาติ ( Between Myself and Nature )

เรื่อง จักรกริช ฉิมนอก ภาพ โอฬาร พลับผล

ระหว่างตัวตนและธรรมชาติ

( Between Myself and Nature )

“ มนุษย์เชื่อมโยงวิถีชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวพันกับธรรมชาติ ในหลายมิติอย่างแนบแน่นมาช้านาน ”

ป่าไม้ เป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural Environment) ที่มีความสำคัญและมีคุณค่ามหาศาล..อย่างยิ่งต่อ การดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรง (Direct Benefits) และทางอ้อม (Indirect Benefits) เพราะ ป่าไม้เป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ ยังมีประโยชน์ในการรักษาความสมดุลของสิ่งแวดล้อมต่างๆในระบบนิเวศน์ซึ่งมี ความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันในทุก ๆ ด้าน ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ พืช อากาศ ฯลฯ …ปัจจุบัน แม้รัฐพยายามอย่างยิ่งยวดในการสร้างจิตสำนึกให้กับชนในชาติ ให้มีความรู้ ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญ และหวงแหนสิ่งแวดล้อม แต่การเพิ่มของประชากร (Population growth )โดย เฉลี่ยทั่วโลก มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เพราะทำให้การใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นและเป็นผลให้จำนวนทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างจำกัดลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและปัญหาด้านมลพิษ (Pollution) ต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ปรากฏการณ์เรือนกระจก ( Greenhouse Effect ) เป็น เหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและดินฟ้าอากาศ ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ทำให้น้ำแข็งในขั้วโลกเหนือละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น การขยายตัวของทะเลทราย และการเสื่อมโทรมของดิน …ฯลฯ !!!

โอฬาร พลับผล ( Olarn Plubplon ) จบการศึกษาศิลปะมหาบัณฑิต จากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สร้างสรรค์และนำเสนอผลงาน “ ระหว่างตัวตนและธรรมชาติ ” ( Between Myself and Nature ) ในมิติของกระบวนการในการสร้างสรรค์ ทางทัศนศิลป์ ( Visual art )ด้วย เทคนิค จิตรกรรมและวาดเส้น ในรูปแบบนามธรรม(Abstract art) ด้วยการลดทอนรูปทรงละรายละเอียดที่เหมือนจริง โดยศิลปินใช้ระนาบสีกำหนดโครงสร้างภาพง่ายๆ อย่าง ภาพทิวทัศน์ทั่วๆไป คือ มีผืนฟ้ากับผืนดินที่แบ่งคั่นด้วยเส้นระดับตา เหนือขึ้นไปมีรูปทรงต้นไม้ แนวเขา ก้อนเมฆ ต่ำลงมาเป็นท้องทุ้ง และคลุ้งน้ำ ชั้นสีที่ทับซ้อนและร่องรอยของเส้นทำให้เกิดระยะ และบรรยากาศขึ้นภายในงาน บนระนาบสองมิติ เพื่อกระตุ้นการรับรู้ของสายตา ให้เกิดการเคลื่อนไหว แปรเปลี่ยน ตามความรู้สึก ศิลปินใช้จินตนาการและประสบการณ์ มุ่งทำความเข้าใจต่อความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อจิตมนุษย์ และจิตมนุษย์กับบทบาทในการรับรู้ธรรมชาติ เพื่อนำมาซึ่งความสุข ความสบายใจ ความสงบและผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดภายในจิตใจ ที่มีส่วนผลักดัน กระตุ้น และโยงใยเกี่ยวเนื่อง การสร้างและถ่วงดุลทางด้านจิตใจในการดำเนินชีวิต ที่นับวันจะมุ่ง สู่ทิศทางบริโภคนิยมและวัตถุนิยมมากขึ้น !!!

ภาพประกอบ (เด็ก) – ศิลปะ ( Illustration (Child) - Arts )

เรื่อง จักรกริช ฉิมนอก ภาพ วันเอก จันทรทิพย์



“ เด็ก คือ อนาคตของชาติ ” เป็นประโยคหรือวลีที่ได้ยินบ่อยครั้ง บางประเทศมีการรณรงค์ให้ประชากรของตนเองแต่งงานและ “ ผลิต ” บุตรให้รัฐ โดยรัฐนั้นจะสนับสนุนเงินในการเลี้ยงดู เช่น ประเทศสิงค์โปร์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทยรัฐบาลได้พยายามแก้ไขในเรื่องของการศึกษา ในการสนับสนุนให้เด็กได้รับการศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน การปรับปรุงหลักสูตรให้โรงเรียนมีมาตรฐานใกล้เคียงกันเพื่อกระจายการศึกษาให้ทั่วถึง คุณภาพชีวิตของเด็กควรได้รับการดูแลและเอาใจใส่จากครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลในการอบรมสั่งสอนบุตร เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาต่างๆทางสังคมยังมีผลกระทบต่อเด็กโดยตรง เช่น ความอยากจนและความเลื่อมล้ำทางสังคมก็ทำให้เกิดปัญหาต่างๆขึ้นมากมาย ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก ปัญหาโสเภณีเด็ก พ่อแม่บางคนที่ยากจนต้องส่งลูกเข้ามา “ ขายตัว” หรือปัญหาที่เกิดจากคนรอบข้างของเด็กเอง เช่น ปัญหาที่เกิดจากผู้ปกครองของเด็ก หรือครูที่ได้กระทำชำเราและข่มขืนเด็ก ซึ่งรัฐและองกรค์เอกชนก็ได้สอดส่งดูแลและพยายามแก้ไข ดังนั้น เด็กจึงเป็นบุลคลากรและองค์ประกอบหนึ่งที่รัฐ และผู้ปกครองควรสนับสนุนให้ความรู้ ให้การศึกษาและดูแลใส่ใจในเรื่องคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยและสวัสดิการต่าง ๆ ทางสังคมอย่างเต็มที่
วันเอก จันทรทิพย์ ( Wonaek JUNTARATIP ) ศิลปินที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นเจ้าของผู้ดำเนินงาน Pongnoi Art Space ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสีน้ำ( Water Color) เพื่อบอกเล่าเรื่องราวในวัยเด็กของตัวเองและถ่ายทอดมุมมองของตัวเองที่มีต่อเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเหตุการณ์เล่านั้นล้วนแสดงให้เห็นถึงภัยอันตรายที่เกิดขึ้นกับเด็ก โดยผ่านภาพนเขียนในรูปแบบของงานภาพประกอบ( illustration ) ศิลปินมีความตั้งใจให้งานของตัวเองเป็นภาพประกอบ ซึ่งไม่ได้มีเจตนาที่จะนำไปประกอบบทความหรือเรื่องราว..เรื่องเล่า ใดๆในหนังสือ แต่อยากให้เป็นรูปแบบงานศิลปะที่สามารถพูกคุยกับคนทุกรุ่นทุกวัยและสื่อสารส่งความได้อย่างชัดเจน และสวยงาม “ มันเป็นภาพประกอบของความคิด ” ศิลปินกล่าว

ซากของความตาย - ร่างคนเป็น - นัย ศิลปะ ( Arcass – Body – Significence Art )

เรื่อง และ ภาพ จักรกริช ฉิมนอก


ซากของความตาย - ร่างคนเป็น - นัย ศิลปะ ( Arcass – Body – Significence Art )

มนุษย์และสิ่งมีชีวิตได้ถูกอนุญาตให้ใช้ร่างกายในเวลาที่กำหนด ก่อนที่จะแปรเปลี่ยนเป็นธาตุต่างๆและถูกกลืนหายกลับไปสู่ธรรมชาติ
ความรู้สึกนึกคิดและสติปัญญาทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในรูปแบบต่างกัน การแสดงออกของร่างกาย เป็นสื่อชนิดแรกที่ทำให้คนสามารถติดต่อสื่อสารกัน อากัปกิริยาท่าทางบ่งบอกอารมณ์ ความรู้สึก และการแสดงออกเหล่านี้จะค่อยๆก่อรูปร่าง ฝังความทรงจำเข้าไปสู่วิญญาณอันว่างเปล่า จนกลายเป็นบุคลิกภาพ ถูกควบคุมด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆกันไปตามสภาพแวดล้อม ประสบการณ์ วัฒนธรรม ประเพณี เชื้อชาติ ศาสนา เพศ ฯลฯ
อารยา ราษฎร์จำเริญสุข ( Araya Rasdjarmrearnsook ) ศิลปินและนักเขียนหญิง ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะและจัดแสดงนิทรรศการทั้งในประเทศ และนิทรรศการระดับนานาชาติ โดยได้แรงบันดาลใจจาก “ซากของความตาย” มาเป็นเรื่องราวร้อยเรียงสร้างสรรค์และแสดงออกในรูปแบบของผลงานศิลปะ ภาพพิมพ์ 2532 -2533 “ผืนดินสีดำกว้างมีมิติลึกสมมุติในงานภาพพิมพ์ราวกับจะทอดยาวไปถึงบ้านที่จากมา บนผืนสีดำกว้างนั้นผู้อยู่ไกลแวะเวียนมาเยี่ยม มาเยือน ยายที่ตายแล้วมาพร้อมกับหลานๆ” ผลงานชื่อ เมื่อวัตถุป่วย (When an Objet Gets Sick 1994 ) มีที่มาจากการเจ็บป่วยและสูญเสียพ่อด้วยโรคมะเร็ง “การพำนักอยู่เยอรมนีครั้งที่สองในหอพักนักศึกษาขนาด 11 ตารางเมตร กับอวลความตายของพ่อที่ ‘ จับจิต’ ศิลปะรูปแบบ installation” ต่อมาศิลปินได้เปลี่ยนจากซากความตาย มาเป็นการใช้ “ร่างคนเป็น ( Body )” ศิลปิน ในการแสดงออก ( Perform ) ขับขานวรรณคดีไทยและแต่งตัว ให้ร่างคนตายที่นอนแช่นิ่งแข็ง ด้วยคิดว่า “ ถ้าไม่ใช้ศิลปะปูทางทอดให้ไหนเลยใครจะกล้าลงมือขืนทวนวัฒนธรรมความเชื่อเดิมๆมีอยู่ ” เข้าประกอบในผลงาน ชื่อ Reading for three female corpses 2001 , Reading for female corpses 2001 ,A Walk 2002 ,Reading for corpses 2002 , I’ am living 2002 ,Sudsiri & Araya 2002 , สนทนากับความตายบนถนนสายแรกของชีวิต (Conversation with Death on Life’s First Street 2005 ด้วยการบันทึกวีดีโอ และจัดแสดงในรูปแบบ video art - installation
“ มันควรเริ่มที่วัยเด็ก จุดเริ่มของเวลาที่ค้างคาแช่นิ่งของ ณ ขณะนี้ต่างหาก แล้วมันควรเป็นกลางคืน ก็แล้วมันควรเป็นฤดูกาลใดเล่า ในขณะที่สายน้ำเย็น สายถนนนั้นอุ่น ดูเหมือนเรามีทางเลือกเสมอ อย่างนั้นใช่หรือไม่ ช่วงขณะอบอุ่นของชีวิตจะมีอยู่นานเท่าใด และอีกเท่าใด แม่น้ำสายนั้นดูเหมือนไม่อาจถูกแทนที่ได้ด้วยสายน้ำไหน เด็กน้อยยืนเกาะลูกกรงชานเรือนอย่างงุนงง สายน้ำเคยคุ้นไหลแรงสู่เส้นสุดท้ายของชีวิต แม่ไม่กลับมาอีกเลย ความฝังจำต่อเรื่องใดก็ตามควรมีทางออกสำหรับผู้จำอย่างนั้นใช่มั้ย แม่น้ำก็เช่นกัน มีอะไรเล่าที่เราแลกได้ด้วยชีวิต? ก็...นี้ไม่ใช่เรากำลังแลกด้วยด้วยการมีชีวิตหรือเล่า? ปล่องเมรูสูงพ่นควันดำลอยเจือไปในฟ้ายามจวนค่ำ สัญญาณของการจากลาพยักพเยิดเพรียกให้ไปหา ฉากและตัวละคร(ไม่รู้ว่าอันไหนเป็นอันไหน)ที่เล่นบทความตายในวัดทำให้เราพิศวง เราสรุปจับความตายไม่ได้เลยว่าคืออะไรกันแน่ จักรยานยังเลียบผ่านสุสานฝรั่งรกร้างในสายวันหยุด ไม่ใช่แต่ชีวิตเท่านั้นที่ร้าง ความตายก็รกร้างได้ ทั้งๆที่วิญญาณของถนนสงัดเท่ากับวิญญาณในป่าช้าแต่ต่างถูกแบ่งกั้นออกจากกัน ถ้าไม่ผ่านความตายเล่า เราจะมีสุญญากาศของการมีชีวิตจากเหตุอื่นหรือไม่ ” เรียบเรียงประโยคจากตัวเน้นสีเข้มในบทความ “ ถ้อยความ : สนทนากับความตายบนถนนสายแรกของชีวิต / ศิลปะกับถ้อยความ ( Art and Words ) อารยา ราษฎร์จำเริญสุข”)
บทสนทนาใหม่ เริ่มขึ้นระหว่างคนดูกับผลงานในนิทรรศการชุดใหม่ จอทีวีและกรอบสีเข้มของรูปภาพงานในเนื้อจอ แขวนเรียงแถวเรียบร้อยข้างผนังสีขาวสะอาดตา ด้วยบรรยากาศเหงาๆของศิลปิน ในเนื้องาน มีร่างคนเป็นและร่างหมาเป็นๆ เป็นทัศนะธาตุ( element ) เคลื่อนไหว( movement ) ธรรมชาติแวดล้อมปรากฏเป็นฉากประกอบถูกจัดว่างมุมกล้องสวยงามตามทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์ และ นัย ศิลปะที่ต้องตีความ กับประโยคตัวหนังสือที่ติดอยู่ข้างๆ จอทีวีแต่ละเครื่องสำหรับนักอ่าน นักคิด นักตีความและนักวิจารณ์ ฯลฯ

“ ในสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งพึงควรใส่ใจ คือการทรยศของดวงจันทร์ ( In this circumstance, the sole objet of attention should be the treachery of the moon.) โดย อารยา ราษฎร์จำเริญสุข ” จัดแสดงที่ ARDEL Gallery of Modern Art

ขยะ – มิตรภาพ – ศิลปะ

เรื่อง จักรกริช ฉิมนอก ภาพ จตุรงค์ ยังพึ่ง

ขยะ – มิตรภาพ – ศิลปะ


ถ้า จะเอ๋ยถึงแต่เรื่องศิลปะเพื่อศิลปะก็คงจะดูเบาหวิวล่องลอยไกลออกไประหว่าง โลกที่เป็นจริง ในปัจจุบัน เพราะงานศิลปะบางชิ้นมีเนื้อหา คลุกเคล้าบรรยากาศที่สลดหดหู่ไปกับสภาวะ และสถานการณ์ ของการเมืองและสถานการณ์ของโลกในหลากหลายหัวข้อที่จะหยิบจับมาเป็นประเด็น ร้อนในการสนทนาระหว่างการพบประพูดคุยกัน มากกว่าเรื่องฟ้าสวย น้ำใสและอาหารอร่อย..ไก่บ้านเธอขันอย่างไร !! ไก่บ้านฉันขัน เอก อิ เอ้ก เอ๊ก... ของทุกวัน

สิ่งแวดล้อม ( environment )เป็น ประเด็นหนึ่งที่ถูกนำมาเพิ่มและรีดเร่งดีกรี ความเข้มค้นของเนื้อหาให้ผู้คนได้ตระหนักรับรู้และเรียนรู้สถานการณ์ จากสิ่งรอบตัวแม้ว่าคนเขียนและผู้อ่านอาจล้มหายตายจากกันไปเสียก่อนที่โลกจะ ดับสูญ เพราะการกระทำอันเกิดจากฝีมือมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเม็ดทรายเล็กๆติดยึดอยู่กับที่ และ ลูกไม้ๆกำลังแตกยอดอ่อน พร้อมจะเหี่ยวเฉาในแสงแดดกล้าของกาลต่อไป

ในสังคมกำลังตื่นตัวเกี่ยวกับการรณรงค์ให้คนหันมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เพื่อป้องกันและลดสภาวะของโลกร้อน จตุรงค์ ยังพึ่ง (Jaturong Youngpoung) ศิลปินหนุ่มรุ่นใหม่ ได้ดำเนินการโครงงานศิลปะของเขาภายไต้ชื่อว่า “ฮ่อสะพายควาย ”( Horsapaikwai )ในมุมมองที่สร้างสรรค์ โดยศิลปินได้นำเศษวัสดุ ( found object ) ที่เก็บได้ตามท้องถนน เช่น ฝาขวด เศษโลหะ รองเท้าแตะ ฯลฯ มาเป็นแม่พิมพ์ เพื่อให้หมึกสีที่ใช้ประทับเกิดร่องรอย พร้อมทั้งติดวัสดุเหล่านั้นลงไปบนถุงผ้าใบด้วย ศิลปินจัดองค์ประกอบ (composition )สวย งามเป็นลวดลายและรูปทรง บนถุงผ้าใบ ในขั้นตอนสุดท้าย ศิลปินได้นำถุงผ้าออกมาแลกเปลี่ยนจ่ายแจกให้คนที่สัญจรผ่านไปมา ตามท้องถนน ซึ่งบางคนก็นำแสตมป์ หนังสือ สมุด ผลไม้ น้ำ อาหาร ฯลฯ มาเป็นสิ่งตอบแทน หากเป็นเงินก็ได้ตั้งแต่ ยี่สิบห้าสตางค์ไปจนถึงหนึ่งร้อยบาท แต่สิ่งของแลกเปลี่ยนเหล่านี้ก็คงไม่ได้มีคุณค่าสูงส่งไปกว่ามิตรภาพที่ ศิลปินอยากให้เกิดขึ้นระหว่างผู้คนในสังคมที่กำลังหาทางออกจากสถานการณ์อัน เลวร้ายกับเรื่องต่างๆทั้งเศรษฐกิจและการเมืองในบ้านเมืองเรา เศษวัสดุจึงมีบทบาท อีกทางเลือกหนึ่งของศิลปินที่หยิบนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) เพื่อสร้างสรรค์ (creation )ให้เกิดประโยชน์เพื่อส่วนรวม เป็นผลงานศิลปะ ที่ทำให้คนได้ตระหนักถึงสภาวะและสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและแบ่งปัน

ขยะ – มิตรภาพ – ศิลปะ จึงมาบรรจบกันบนถนนสายนี้...

ค้นพบและบังเอิญ ในศิลปะ

เรื่อง/ภาพ จักรกริช ฉิมนอก

ค้นพบและบังเอิญ ในศิลปะ

ค้นพบและความบังเอิญนั้นเกิดขึ้นได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา นับตั้งแต่โลกนี้บังเอิญมีสภาพแวดล้อม ที่มีบรรยากาศที่เหมาะสมเอื้อต่อการเกิดสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมทั้งการเกิด และการสืบทอดเผ่าพันธ์ของมนุษย์ขึ้น
สิ่งมหัศจรรย์ต่างๆที่มนุษย์ค้นพบและคิดค้นขึ้นก็มักจะเริ่มต้นมาจากความบังเอิญ เช่นมนุษย์ยุคแรกค้นพบไฟด้วยความบังเอิญที่ฟ้าผ่าลงมาที่ต้นไม้ ทำให้มนุษย์เรียนรู้การนำความร้อนและแสงสว่างจากไฟมาใช้ หรือ ต่อมามีนักวิทยาศาตร์ค้นพบว่าโลกมีแรงโน้มถ่วงจากผลไม้ที่ตกลงมาจากต้นลงสู่พื้นดินแทนที่จะลอยขึ้นในอากาศ ซึ่งทำให้รู้สึกว่าความบังเอิญมักควบคู่มากับการค้นพบอยู่เสมอ แสดงให้เห็นว่าผลของการค้นพบนั้นมีอยู่ก่อนแล้วและความบังเอิญก็เป็นกุญแจดอกหนึ่งที่ทำให้มนุษย์เดินทางไปสู่สิ่งที่ค้นหา
ดังนั้น การค้นพบและความบังเอิญจึงเป็นสัมการของการเรียนรู้ ที่ต้องรอและอาศัยมนุษย์ในการมีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งเร้าที่เขาสนใจและค้นคว้า จนทำให้เกิดวิวัฒนาการด้านต่างๆ

ในศิลปะ โครงการ สัมนาเชิงปฏิบัติการ ( workshop) และนิทรรศการ“ Print Exploration”เป็นอีกโครงการหนึ่งโดย อาจารย์ประวัติ เล้าเจริญ ( Prawat Laucharoen )ได้สร้างพื้นที่(space)และให้คำปรึกษา กับศิลปินที่เข้าร่วมปฏิบัติงาน ทดลองเทคนิก วิธีการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่างๆ และการจัดนิทรรศการ โดยให้ความสำคัญในการค้นหาและค้นพบกระบวนการใหม่ในการสร้างสรรค์ (process ) ของศิลปินแต่ละคน บางสิ่งบางอย่างในการค้นพบและบังเอิญพบระหว่างการปฏิบัติงานของศิลปินอาจเป็นส่วนที่เติมเต็มช่องว่างของชีวิตและทำให้เกิดความสุขได้ทั้งตัวศิลปินเองและผู้ชมนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนที่จะมองและให้ความหมายแก่ทัศนธาตุ( element )ที่เกิดขึ้นและมองเห็น

“ ไม่ว่าผลงาน จะสำเร็จหรือล้มเหลว เราต่างเรียนรู้ ” ( อาจารย์ประวัติ เล้าเจริญ กล่าว)

*ภาพประกอบจาก ผลงานโดย ภัทรี ฉิมนอก *