วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ขยะ – มิตรภาพ – ศิลปะ

เรื่อง จักรกริช ฉิมนอก ภาพ จตุรงค์ ยังพึ่ง

ขยะ – มิตรภาพ – ศิลปะ


ถ้า จะเอ๋ยถึงแต่เรื่องศิลปะเพื่อศิลปะก็คงจะดูเบาหวิวล่องลอยไกลออกไประหว่าง โลกที่เป็นจริง ในปัจจุบัน เพราะงานศิลปะบางชิ้นมีเนื้อหา คลุกเคล้าบรรยากาศที่สลดหดหู่ไปกับสภาวะ และสถานการณ์ ของการเมืองและสถานการณ์ของโลกในหลากหลายหัวข้อที่จะหยิบจับมาเป็นประเด็น ร้อนในการสนทนาระหว่างการพบประพูดคุยกัน มากกว่าเรื่องฟ้าสวย น้ำใสและอาหารอร่อย..ไก่บ้านเธอขันอย่างไร !! ไก่บ้านฉันขัน เอก อิ เอ้ก เอ๊ก... ของทุกวัน

สิ่งแวดล้อม ( environment )เป็น ประเด็นหนึ่งที่ถูกนำมาเพิ่มและรีดเร่งดีกรี ความเข้มค้นของเนื้อหาให้ผู้คนได้ตระหนักรับรู้และเรียนรู้สถานการณ์ จากสิ่งรอบตัวแม้ว่าคนเขียนและผู้อ่านอาจล้มหายตายจากกันไปเสียก่อนที่โลกจะ ดับสูญ เพราะการกระทำอันเกิดจากฝีมือมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเม็ดทรายเล็กๆติดยึดอยู่กับที่ และ ลูกไม้ๆกำลังแตกยอดอ่อน พร้อมจะเหี่ยวเฉาในแสงแดดกล้าของกาลต่อไป

ในสังคมกำลังตื่นตัวเกี่ยวกับการรณรงค์ให้คนหันมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เพื่อป้องกันและลดสภาวะของโลกร้อน จตุรงค์ ยังพึ่ง (Jaturong Youngpoung) ศิลปินหนุ่มรุ่นใหม่ ได้ดำเนินการโครงงานศิลปะของเขาภายไต้ชื่อว่า “ฮ่อสะพายควาย ”( Horsapaikwai )ในมุมมองที่สร้างสรรค์ โดยศิลปินได้นำเศษวัสดุ ( found object ) ที่เก็บได้ตามท้องถนน เช่น ฝาขวด เศษโลหะ รองเท้าแตะ ฯลฯ มาเป็นแม่พิมพ์ เพื่อให้หมึกสีที่ใช้ประทับเกิดร่องรอย พร้อมทั้งติดวัสดุเหล่านั้นลงไปบนถุงผ้าใบด้วย ศิลปินจัดองค์ประกอบ (composition )สวย งามเป็นลวดลายและรูปทรง บนถุงผ้าใบ ในขั้นตอนสุดท้าย ศิลปินได้นำถุงผ้าออกมาแลกเปลี่ยนจ่ายแจกให้คนที่สัญจรผ่านไปมา ตามท้องถนน ซึ่งบางคนก็นำแสตมป์ หนังสือ สมุด ผลไม้ น้ำ อาหาร ฯลฯ มาเป็นสิ่งตอบแทน หากเป็นเงินก็ได้ตั้งแต่ ยี่สิบห้าสตางค์ไปจนถึงหนึ่งร้อยบาท แต่สิ่งของแลกเปลี่ยนเหล่านี้ก็คงไม่ได้มีคุณค่าสูงส่งไปกว่ามิตรภาพที่ ศิลปินอยากให้เกิดขึ้นระหว่างผู้คนในสังคมที่กำลังหาทางออกจากสถานการณ์อัน เลวร้ายกับเรื่องต่างๆทั้งเศรษฐกิจและการเมืองในบ้านเมืองเรา เศษวัสดุจึงมีบทบาท อีกทางเลือกหนึ่งของศิลปินที่หยิบนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) เพื่อสร้างสรรค์ (creation )ให้เกิดประโยชน์เพื่อส่วนรวม เป็นผลงานศิลปะ ที่ทำให้คนได้ตระหนักถึงสภาวะและสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและแบ่งปัน

ขยะ – มิตรภาพ – ศิลปะ จึงมาบรรจบกันบนถนนสายนี้...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น