วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คนหรือมนุษย์เป็นอะไรที่ยากจะเข้าใจ + ศิลปะ

เรื่อง และภาพ : จักรกริช ฉิมนอก



ทำไม..นักวิชาการต่างๆ(แทบทุกคน)ถึงชอบอ้างอิง ทฤษฎี แนวคิด จากบุคคลต่างๆทั้งๆที่ไม่เคยได้รู้จักและสัมผัส หรือมีความเกี่ยวข้องใดๆซึ่งกันและกัน อะไรคือความเข้าใจในสิ่งที่ผู้เสนอ(เจ้าลัทธิหรือเจ้าความคิด)เข้าใจจริงๆ และอะไรคือความเข้าใจของผู้นำไปปฏิบัติหรือบอกต่อ แม้ศาสตร์ต่างๆจะมี การพัฒนา (development )และหาเหตุผลมารองรับ ยืนยัน สนับสนุนและบริบทต่างๆก็ปรับเปลียนตาม คน สังคม ภูมิภาค วัฒนธรรมประเพณีและ อื่นๆ อีกมากมายไปเรื่อยๆ แต่เกือบทุกครั้งที่ผู้เขียนมองเข้าไปในตัวเองก็มักจะเห็นแต่คนอื่นๆที่กรอปเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเสมอ เหมือนจุดต่ดจุดกลายเป็นเส้น
ผมกำลังจมดิ้งลงไปกับความคิดต่างๆนา ในการ ตีความ และขยายความจากสิ่งที่มองเห็นด้วยตาปล่าๆกับแว่นมัวๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสารที่จะรับ จากสื่อที่ศิลปินแสดงออกมาด้วยรูปแบบของทัศนศิลป์ เหล่านี้อย่างไรดี โดยจะไม่ใยดีต่อความคิดของศิลปิน หากผู้เขียนเชื่อว่าศิลปะบริสุทธิ์ มันค่อนข้างที่จะหนักอึ้งในการประมวลความรู้ของผู้เขียนแม้ตอนนี้ก็อายุก้าวเลยเข้าปี่ที่ 31 “ยังไม่ประสีประสา” ประกอบกับเห็ตการณ์ต่างๆก็เกิดขึ้นรอบๆตัวอย่างรวดเร็วและหลากหลาย หลายครั้งที่ผู้เขียนเคยมีคำถามกับตัวเองเสมอว่าเรา(มนุษย์)เกิดมากันทำมั้ย..!!
ไม่ว่าศิลปะจะถูกนำออกมาเสริฟในรูปแบบใดก็ตาม แต่สิ่งที่ห้อยแขวนตามมาก็คือการอ้างเอ่ย สื่อสาร ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นสิ่งที่ธรรมดาสามาน หรือเป็นเรื่องลี้ลับเข้าใจยาก โดยรูปแบบนั้นอาจจะพิศดาร ไปจนถึงยิบจับสิ่งของที่เห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน มาโชว์แสดงบนเวทีความเป็นอื่นๆที่แตกต่างออกไป ศิลปินบางคน(หลายคน)ใช้ศิลปะนั้นนำความสุข ความเข้าใจชีวิตมาสู่ผู้ปฏิบัติ และสามารถเผื่อแผ่มาถึงคนดู ประหนึ่งเป็นการเป็นการบำบัด เยียวยา ชีนำ ชักนำ หรือกระทั้งชักจูง ให้คนอื่นๆ เห็นคล้อยและเข้าใจในการสื่อสารของศิลปิน หรือแม้แต่ความเห็นที่ขัดแย้งก็นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไปได้หากทั้งผู้รับ และผู้ส่งสารจะมีใจกว้างยอมรับซึ่งกันและกันและไร้ซึ้งอคติ
“ภาพสะท้อนจากภายใน” ( Inner Reflection)โดย เริงฤทธิ์ ตรียานุรักษ์ (Ruengrit Treyanurak) เป็นผลงานศิลปะจัดวาง (Installation) ประกอบด้วยงานจิตรกรรม และสื่อประสม โดยใช้เส้นขอบนอกของภาพใบหน้าคนเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนความเป็นคนหรือมนุษย์ เพื่อให้คนดูพิจารณาความเป็นตนเองจากการมองเห็นในสิ่งที่ปรากฏ คือรูปร่างเส้นขอบนอกของภาพใบหน้าคนในงานจิตรกรรมและภาพสะท้อนของคนดูจากกระจกในผลงานประติมากรรม ผลงานชุดนี้เกิดขึ้นจากศิลปินเกิดความสงสัยในคน ตระหนักถึงคุณค่าความเป็นคนหรือมนุษย์มุ้งเน้นให้คนได้มุ้งค้นหาตัวเอง ลดละจากอคติที่มีต่อคนอื่น และลดละความเป็น “ตัวกู—ของกู”(Egoism)
“เพราะคนหรือมนุษย์มักจะมองเห็นแต่ข้อด้อยและ ข้อเสียของคนอื่น ไม่ค่อยอยากที่จะมองเห็นข้อเสียของตนเอง อาจจะมองเห็นแต่แกล้งที่จะมองไม่เห็น ชอบดู ขี้สงสัยแต่เรื่องของคนอื่น เวลาคนอื่นสงสัยเรื่องของตัวเองบ้างก็มักจะไม่พอใจ คนหรือมนุษย์จึงเป็นอะไรที่อยากจะเข้าใจ” เอกสารประกอบนิทรรศการ “ภาพสะท้อนจากภายใน” ( Inner Reflection)โดย เริงฤทธิ์ ตรียานุรักษ์ (Ruengrit Treyanurak)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น