วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สายล่อฟ้า ( lightning Conductor)

เรื่อง และ

ภาพ จักรกริช ฉิมนอก

สายล่อฟ้า ( lightning Conductor)

บรรยากาศตอนเช้าของชียงใหม่ในยามหน้าฝนเค่อนข้างจะสดชื่น (ขณะเขียนอาศัยนอนที่บ้านเพื่อนนอกเมือง) เสียงนกร้องขับกล่อมแทรกมาเป็นระยะ ๆ สลับกับเสียงไก่ขัน ผืนสีเขียวของแนวใบและยอดไม้ สดใส่หลังถูกชะล้างด้วยฝนของเมื่อคืน แสงค่อยๆแยงแทรกตัวออกมาจากกลีบเมฆที่บดบังบดบังดวงอาทิตย์ ดูราวกับว่าเวลาตอนนี้เคลื่อนตัวเนิบๆช้าๆ ก่อนจะเร่งรีบในตอนสายของวัน เวลาทิ้งช่วงให้ได้นั่งคิดทบทวนอะไรบางอย่าง ก่อนจะถูกโหมกระหนำด้วยข่าวสาร และการเคลื่อนไหวต่างๆในเมือง ก่อนจะเจอรถยนต์ที่เริ่มติดเป็นทิวแถวตามสีแยก สามแยกของถนน เสียงการหายใจของเมืองที่ประกอบด้วยการก่อสร้างตึกคอนกรีตสูง และเด็กร้องขายพวงมาลัยพร้อมสีหน้าที่เศร้าสร้อย เสียงจอแจในตลาด หรือ อาจจะเสียงปืน และระเบิด ในที่ ต่างๆ ตามมุมโลก และเส้นแบ่งขอบแนวพื้นที่ของประเทศหลายๆ ประเทศ

สิ่ง ต่างที่กำลังเกิดขึ้นและดำเนินไปบนโลกใบนี้ ต่างสอดคล้อง ร้อยรับกันประหนึ่งใยแมงมุมที่ห่อหุ้มก้อนหิน ผลกระทบจากสิ่งต่างๆ ล้วนส่งผลถึงกันอย่างเช่น สภาวะการณ์ถดถอยของเศรษฐกิจ ในตอนนี้ ตามข่าวสารที่ได้รับและได้ฟัง การแผร่ระบาดของใข้หวัดสายพันธ์ใหม่ทีคุกครามชีวิตมนุษย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี่แสดงออกมาเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มบางอย่างที่ กำลังเคลื่อนตัวอยู่ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์

“ สายล่อฟ้า ” ( lightning Conductor) เป็นชื่อนิทรรศการเดี่ยวโดย ศุภชัย ศาสตร์สาระ( Supachai Satsara) ผู้ซึ่งเป็นทั้งอาจารย์ในคณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่สอนศิลปะ และนักเคลื่อนไหวทางสังคมโดยใช้สื่อศิลปะในการสื่อสารกับคนในสังคม ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสะท้อนเนื้อหาเรื่องราวของมนุษย์ในสังคมชักชวนให้เกิดความคิด และการตั้งคำถาม
ศุภชัย มักมีความเชื่อมโยงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เหตุการณ์และภัยปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นนะขณะนั้นๆ สะท้อนถึงปัญหา เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทางความคิดในประเด็นต่างๆ ซึ่งศิลปินมักใช้ร่างกายของตัวเองทรอดแทรก ประกอบเข้าเป็นเนื้องานและการแสดงออก เพื่อสื่อสาร ส่งความไปถึงคนดู วัสดุที่ศิลปินเลือก ใช้ส่วนมากมักจะเป็นของที่เห็นได้จากสภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น เสาไฟฟ้า ลำโพง เครื่องขยายเสียง ไฟนีออน งานจิตรกรรม และ งานประติมากรรมรูปเหมือน ศิลปิน แม้งานชุดนี้จะมีงานจิตรกรรม ที่ศิลปินคัดลอกมา ไม่ได้แสดงออกด้วยเทคนิคที่เคร่งคัดเหมือนงานต้นแบบ ศิลปิน เน้นเรื่องราวเป็นสำคัญมากกว่าสนใจเรื่องความงดงามทางศิลปะ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ประกอบกับตัวหนังสือที่เป็นไฟนีออน ที่ดัดเป็นตัวอักษรบนผนังว่า lightning Conductor ศิลปินใช้งานประติมากรรม(ไม้แกะ)รูปตัวเองลักษณะกางแขนและแบมือรองรับแท่งเสาไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีสายไฟฟ้าแรงสูงระโยงระยาง เหมือนเน้นให้เห็นถึงสภาพของเมืองอีกครั้ง ที่ไม่อาจปฏิเสธความเปลี่ยนแปลง และความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่ในสภาพปัจจุปัน เสียงจากลำโพงเหมือนกำลังประกาศก้อง ถึงอะไรบางอย่างที่แอบซ้อนและอัดอั้นอยู่ภายในของเมือง งานอีกชิ้นเป็นประติมากรรมเล็กๆรูปเหมือนของศิลปิน ที่ยืนนิ่งแช่แข็งอยู่บนปลายยอดอีกด้านของลำโพงที่คว่ำลง( อาจจะดูเป็นยอดเขาหรือที่สูงสักแห่งหนึ่งที่ขึ้นไปยืนได้ครั้งละคน นั้นอาจหมายถึงสภาวะแห่งการแข่งขันและเป็นเลิศ ) ซึ่งให้ความรู้สึกโดเดี่ยว และอ้างว้างแม้จะอยู่ในจุดที่ประสบความสำเร็จ และได้ชัยชนะของการแข่งขันกันของคนในสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น